- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 มิถุนายน 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,946 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,170 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,568 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 8,645 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 23,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,370 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,600 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.69
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 782 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,163 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (24,192 บาท/ตัน) แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 29 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,925 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,159 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 234 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,925 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,159 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 234 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.8996 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย : เคาะลดพื้นที่ปลูกข้าวปี 64/65 เหลือ 66 ล้านไร่ หนุนปลูกแค่ 5 พันธุ์ตามตลาด
เกษตรฯ ปักหมุดเตรียมเน้นผลิตข้าว 5 ประเภท ให้สอดคล้องกับตลาด ตั้งเป้าพื้นที่ผลิต 66 ล้านไร่
พร้อมถกการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก จากปัญหาฝนทิ้งช่วง
วันที่ 8 มิถุนายน 2564 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย
หลังการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาถึง
เป้าหมายการผลิตข้าว การวางแผนการข้าว และพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/2565
โดยมีสาระสำคัญ คือ เห็นควรให้มีการแบ่งประเภทข้าวเพื่อให้การเพาะปลูกมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ได้ผลผลิตในแต่ละชนิดข้าวที่มีความสอดคล้องทั้งในส่วนของ Demand และ Supply โดย
จะแบ่งเป็น 5 ชนิดข้าว
ประกอบด้วย 1) ข้าวหอมมะลิ 2) ข้าวหอมไทย 3) ข้าวเจ้า ซึ่งจำแนกเป็นข้าวเจ้าพื้นนุ่มและข้าวเจ้าพื้นแข็ง
4) ข้าวเหนียว 5) ข้าวตลาดเฉพาะ ทั้งนี้ พื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวปีการผลิต 2564/2565 นั้น ได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น
66 ล้านไร่ โดยปรับลดพื้นที่ปลูกลงจากปีการผลิต 2563/2564 ประมาณ 3 ล้านไร่
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาถึงเป้าหมายการผลิตข้าว การวางแผนการผลิตข้าว และพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/2565 โดยมีสาระสำคัญ คือ ปริมาณน้ำสำหรับการเพาะปลูกข้าวในปีการผลิต 2564/2565 (ฤดูนาปี) อยู่ในเกณฑ์น้อย ภาพรวมปริมาณน้ำที่ใช้การจากอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ
ขนาดเล็ก ขณะนี้มีจำนวน 11,121 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ในขณะเดียวกันกลับมีความต้องการใช้อยู่ที่ 32,339
ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบกับน้ำใน 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณน้ำใช้การเหลือเพียง 1,457 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินว่ามีปริมาณฝนน้อย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภค/บริโภค และจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม
ดังนั้น หน่วยงานชลประทานในพื้นที่จะต้องมีแผนบริหารจัดการน้ำ โดยจัดส่งน้ำเป็นรอบเวรเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ และต้องมีแผนจัดสรรน้ำเพื่อประคองปริมาณน้ำที่มีอยู่จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ดังนั้น นอกจากการจัดรอบเวรเพื่อจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรแล้ว อีกส่วนหนึ่งจะต้องขอความร่วมมือเกษตรกรหากจะเพาะปลูกให้พิจารณาใช้น้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งจากการคาดการณ์ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป น่าจะสามารถเพาะปลูกได้โดยไม่มีผลเสียหาย
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พื้นที่ปลูกข้าวนาปี ได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำ ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้
กรมชลประทาน เร่งเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดนั้น กรมชลประทาน ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่รับทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมชี้แจงถึงกติกาการสูบน้ำตามรอบเวรให้กับเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้
การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรเป็นอย่างดี
สำหรับแนวทางการช่วยเหลือ กรมชลประทาน โดยสำนักเครื่องจักรกล ได้นำเครื่องสูบน้ำเข้าติดตั้ง
พร้อมเดินเครื่องสูบน้ำในหลายพื้นที่แล้ว อาทิ ที่จังหวัดพิษณุโลก ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยเครื่องดีเซลขนาด 12 นิ้ว บริเวณคลองบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ และบริเวณคลองวัดขอน ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม
สูบน้ำจากคลองบางแก้ว และคลองวัดขอน ส่งไปยังคลองซอยต่างๆ วันละประมาณ 47,500 ลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีกว่า 2,000 ไร่
ด้านจังหวัดชัยนาท ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยระบบไฮดรอลิคขนาด 24 นิ้ว และขนาด 28 นิ้ว บริเวณ
คลอง 2 (ซ้าย) ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท สูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งไปยังคลอง 2 (ซ้าย) วันละประมาณ 198,000 ลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเพาะปลูกข้าวนาปีกว่า 7,000 ไร่
นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ และเครื่องจักรกลอื่นๆ ที่พร้อมจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ทำนาปีไปแล้ว รวมไปถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ ถึงแม้ว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกลงมาบ้างแล้วในหลายพื้นที่ แต่น้ำต้นทุนที่มีอยู่ในเขื่อนต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงจำเป็นต้องทำการจัดสรรน้ำตามรอบเวร เพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างทั่วถึง ลดผลกระทบต่อผลผลิตที่อาจจะได้รับความเสียหายได้ สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก ขอให้ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อน จนกว่าจะมีฝนตกชุกในพื้นที่สม่ำเสมอและมีน้ำเพียงพอ
อนึ่ง กรมชลประทานจะมุ่งมั่นบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอใช้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นในอนาคต โดยการเก็บกักน้ำไว้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากน้ำท่า
ตามธรรมชาติให้มากที่สุด จึงขอให้เกษตรกรติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำได้จากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ รวมถึงติดตาม
สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเพาะปลูกพืชและลดผลกระทบ
ที่จะเกิดขึ้น
ที่มา : prachachat.net, สำนักข่าวอินโฟเควสท์
อินเดีย : อินเดียเดินหน้าส่งออกข้าว Non-Basmati หลังฟิลิปปินส์ลดภาษีนำเข้า
สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย (Rice Exporters Association) มั่นใจว่าปีนี้จะส่งออกข้าวได้มากขึ้น
ครองอันดับหนึ่งในตลาดโลก โดยข้อมูลจากหน่วยงานด้านการพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของอินเดีย (Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority: APEDA) ระบุว่าในปี 2563
อินเดียส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติได้ 13.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 160 ในขณะที่ส่งออกข้าวบาสมาติได้ในปริมาณ 4.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4 โดยปัจจัยหนึ่งสำหรับการส่งออกในปีนี้คือการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์
ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยกเลิกนโยบายการจำกัดการนำเข้าข้าวเชิงปริมาณและอนุญาตให้ผู้นำเข้าเอกชนสามารถนำเข้าข้าวได้อย่างเสรี รวมทั้งมีการลดภาษีนำเข้าข้าวด้วย
โดยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการคลังของฟิลิปปินส์ได้ประกาศลดอากรขาเข้าทั่วไป (MFN) จากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 35 สำหรับการนำเข้าข้าวตามโควตา และเก็บอากรขาเข้าร้อยละ 50 สำหรับการนำเข้า
นอกโควตา ภายในกรอบเวลาหนึ่งปีจากนี้ เนื่องจากฟิลิปปินส์คาดว่าจะต้องเผชิญกับพายุหลายลูกในช่วงฤดูฝน ทำให้
ผลผลิตข้าวจะมีปริมาณน้อยลง จึงต้องรักษาระดับราคาข้าวในประเทศไม่ให้สูงเกิดไป ซึ่งโดยปกติแล้วฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวปีละประมาณ 2.5 ล้านตัน โดย 2 ล้านตันเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง และอีกประมาณ 5 แสนตัน เป็นข้าวคุณภาพรอง
โดยแหล่งนำเข้าข้าวคุณภาพหลักคือ เวียดนามและไทย แต่ในปีนี้ฟิลิปปินส์ต้องการกระจายการนำเข้าที่นอกเหนือไปจากเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วย
ทั้งนี้ ราคาข้าวขาว 5% ที่ส่งออกจากอินเดียมีราคาเพียง 388-392 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวจากเวียดนามยังทรงตัวอยู่ที่ 490-495 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ส่วนราคาข้าวของไทยอยู่ที่ 457-487 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าผลผลิตข้าวจากไทยและเวียดนามจะลดลง รวมถึงข้าวจากบังกลาเทศและเมียนมาด้วย ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ในทางกลับกัน อินเดียคาดว่าจะมีผลผลิตข้าวส่วนเกินและส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวลดลง สำหรับราคาข้าวนึ่ง 5% ของอินเดีย อยู่ที่
402-408 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับราคาของเวียดนาม ซึ่งอยู่ที่ 510-515 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ข้าวนึ่งจากไทยมีราคาสูงถึง 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย ยังมีข้อกังวลว่าอินเดียจะไม่สามารถส่งออกข้าวได้เต็มศักยภาพจากการที่อินเดียขาดเรือขนส่งระหว่างประเทศสำหรับสินค้าแบบเทกอง ในขณะที่การขนส่งข้าวผ่านทางท่าเรือน้ำลึกกากีนาดา (Kakinada) ในรัฐอาธรประเทศทางฝั่งตะวันออกของอินเดียยังคงทำได้ช้า เนื่องจากภาวะคับคั่ง ทำให้เรือต้องจอดรอคิวนานกว่าปกติและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และหากผู้ส่งออกจะหันไปส่งออกโดยบรรจุข้าวในตู้คอนเทนเนอร์ก็จะทำให้มีต้นทุนและราคาสูงขึ้นอีก ข้อจำกัดนี้จึงอาจส่งผลต่อปริมาณการส่งออกและระดับราคาที่จะแข่งขันกับเวียดนามและไทยได้
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น
1. รายงานกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ระบุว่า ผลผลิตข้าวอินเดียปีนี้น่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 117.9 ล้านตันข้าวสาร เป็น 118 ล้านตันข้าวสา เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศ ส่วนความต้องการบริโภคภายในประเทศมีปริมาณ 103 ล้านตันข้าวสาร อินเดียจึงจะมีผลผลิตส่วนเกินอยู่ประมาณ 15 ล้านตัน ส่วนปริมาณข้าว
ในสต็อกของอินเดียคาดว่าจะมีประมาณ 50 ล้านตันข้าวสาร ในขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียอาจมีการสนับสนุน
การเพาะปลูกข้าวผ่านมาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวและเครื่องเกี่ยวนวดข้าว รวมถึงการจัดจำหน่ายข้าวด้วย โดยคาดว่ารัฐบาลอินเดียจะออกมาตรการส่งเสริมการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายส่วนแบ่ง
ในตลาด โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ที่กำลังเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในตลาดโลก รวมทั้งรักษาแรงจูงใจในการปลูกข้าว
ที่ไม่ใช่บาสมาติของเกษตรกร นอกจากนี้ อินเดียยังออกมาตรการที่น่าจับตสมองคือ การจัดจำหน่ายข้าวราคาถูกให้กับผู้บริโภคเพื่อบรรเทาภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพในภาวะโรคระบาด ซึ่งข้าวที่ขายให้กับประชาชนในราคาถูกนั้น บางส่วนอาจมีโอกาสนำกลับมาหมุนเวียนขายให้กับผู้ส่งออกได้
2. ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนและราคาข้าวจากไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง รวมถึงปัจจัยด้านเงินบาทที่แข็งค่า
ทำให้ปี 2563 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามมากถึง 1.3 ล้านตัน และนำเข้าจากไทยเพียง 70,000 ตัน เช่นเดียวกับมาเลเซียที่หันไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามและอินเดียมากขึ้นจากการที่มีราคาถูกว่า ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยลดลง และแม้ว่าไทยจะมีการตัดลดราคาลงเพื่อรักษาลูกค้าที่มีอยู่เอาไว้ ก็อาจไม่คุ้มค่าเพราะอินเดียมีการพัฒนาคุณภาพข้าวขาวให้มีความนุ่มและหอมใกล้เคียงกับไทยมากขึ้นเป็นลำดับ และมีราคาต่ำกว่าไทยมากถึงประมาณ 90-120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
3. ในระยะยาว ไทยก็กำลังพัฒนาข้าวขาวพื้นนิ่มพันธุ์ กข79 และ กข87 ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกสู่ตลาดโลกได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ซึ่งในระยะนี้ ไทยอาจต้องมุ่งเน้นตลาดในระดับบนที่ใส่ใจในสุขภาพ เพื่อส่งเสริมการส่งออกข้าวที่มีคุณค่าสูง อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และข้าวอินทรีย์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าวเหล่านี้ อาทิ น้ำนมข้าว
เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำมันรำข้าว แป้งทำขนม และขนมปังกรอบ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ผลิตไทยด้วย ในขณะที่ตลาดโลก
มีความต้องการสินค้าเหล่านี้ อาทิ ญี่ปุ่น มาเลเซีย รวมถึงตลาดอินเดียเอง ทั้งนี้ สคต. ได้รับข้อมูลจากผู้ผลิตอาหารในอินเดียว่ามีความสนใจที่จะร่วมลงทุนกับผู้ผลิตในประเทศไทย เพื่อนำข้าวหอมมะลิมาแปรรูปเป็นข้าวเม่า หรือ Rice Flake เพื่อเป็นอาหารเช้าในแบบของอินเดีย (Poha) ซึ่งกระบวนการผลิตจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ข้าวที่ยังมีเปลือก นอกจากนี้
ในระยะยาวไทยอาจให้ความสำคัญกับตลาดในกลุ่ม Millennials (อายุประมาณ 25-40 ปี เพื่อให้รู้จักกับทางเลือกที่หลากหลายของข้าวชนิดต่างๆ โดยมีกิจกรรม อาทิ การประกวดเมนูอาหารจากข้าวไทย และกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน
สอนทำอาหาร เป็นต้น
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,946 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,170 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,568 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 8,645 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 23,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,370 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,600 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.69
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 782 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,163 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (24,192 บาท/ตัน) แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 29 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,925 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,159 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 234 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,925 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,159 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 234 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.8996 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย : เคาะลดพื้นที่ปลูกข้าวปี 64/65 เหลือ 66 ล้านไร่ หนุนปลูกแค่ 5 พันธุ์ตามตลาด
เกษตรฯ ปักหมุดเตรียมเน้นผลิตข้าว 5 ประเภท ให้สอดคล้องกับตลาด ตั้งเป้าพื้นที่ผลิต 66 ล้านไร่
พร้อมถกการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก จากปัญหาฝนทิ้งช่วง
วันที่ 8 มิถุนายน 2564 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย
หลังการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาถึง
เป้าหมายการผลิตข้าว การวางแผนการข้าว และพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/2565
โดยมีสาระสำคัญ คือ เห็นควรให้มีการแบ่งประเภทข้าวเพื่อให้การเพาะปลูกมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ได้ผลผลิตในแต่ละชนิดข้าวที่มีความสอดคล้องทั้งในส่วนของ Demand และ Supply โดย
จะแบ่งเป็น 5 ชนิดข้าว
ประกอบด้วย 1) ข้าวหอมมะลิ 2) ข้าวหอมไทย 3) ข้าวเจ้า ซึ่งจำแนกเป็นข้าวเจ้าพื้นนุ่มและข้าวเจ้าพื้นแข็ง
4) ข้าวเหนียว 5) ข้าวตลาดเฉพาะ ทั้งนี้ พื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวปีการผลิต 2564/2565 นั้น ได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น
66 ล้านไร่ โดยปรับลดพื้นที่ปลูกลงจากปีการผลิต 2563/2564 ประมาณ 3 ล้านไร่
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาถึงเป้าหมายการผลิตข้าว การวางแผนการผลิตข้าว และพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/2565 โดยมีสาระสำคัญ คือ ปริมาณน้ำสำหรับการเพาะปลูกข้าวในปีการผลิต 2564/2565 (ฤดูนาปี) อยู่ในเกณฑ์น้อย ภาพรวมปริมาณน้ำที่ใช้การจากอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ
ขนาดเล็ก ขณะนี้มีจำนวน 11,121 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ในขณะเดียวกันกลับมีความต้องการใช้อยู่ที่ 32,339
ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบกับน้ำใน 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณน้ำใช้การเหลือเพียง 1,457 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินว่ามีปริมาณฝนน้อย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภค/บริโภค และจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม
ดังนั้น หน่วยงานชลประทานในพื้นที่จะต้องมีแผนบริหารจัดการน้ำ โดยจัดส่งน้ำเป็นรอบเวรเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ และต้องมีแผนจัดสรรน้ำเพื่อประคองปริมาณน้ำที่มีอยู่จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ดังนั้น นอกจากการจัดรอบเวรเพื่อจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรแล้ว อีกส่วนหนึ่งจะต้องขอความร่วมมือเกษตรกรหากจะเพาะปลูกให้พิจารณาใช้น้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งจากการคาดการณ์ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป น่าจะสามารถเพาะปลูกได้โดยไม่มีผลเสียหาย
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พื้นที่ปลูกข้าวนาปี ได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำ ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้
กรมชลประทาน เร่งเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดนั้น กรมชลประทาน ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่รับทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมชี้แจงถึงกติกาการสูบน้ำตามรอบเวรให้กับเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้
การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรเป็นอย่างดี
สำหรับแนวทางการช่วยเหลือ กรมชลประทาน โดยสำนักเครื่องจักรกล ได้นำเครื่องสูบน้ำเข้าติดตั้ง
พร้อมเดินเครื่องสูบน้ำในหลายพื้นที่แล้ว อาทิ ที่จังหวัดพิษณุโลก ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยเครื่องดีเซลขนาด 12 นิ้ว บริเวณคลองบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ และบริเวณคลองวัดขอน ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม
สูบน้ำจากคลองบางแก้ว และคลองวัดขอน ส่งไปยังคลองซอยต่างๆ วันละประมาณ 47,500 ลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีกว่า 2,000 ไร่
ด้านจังหวัดชัยนาท ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยระบบไฮดรอลิคขนาด 24 นิ้ว และขนาด 28 นิ้ว บริเวณ
คลอง 2 (ซ้าย) ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท สูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งไปยังคลอง 2 (ซ้าย) วันละประมาณ 198,000 ลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเพาะปลูกข้าวนาปีกว่า 7,000 ไร่
นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ และเครื่องจักรกลอื่นๆ ที่พร้อมจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ทำนาปีไปแล้ว รวมไปถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ ถึงแม้ว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกลงมาบ้างแล้วในหลายพื้นที่ แต่น้ำต้นทุนที่มีอยู่ในเขื่อนต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงจำเป็นต้องทำการจัดสรรน้ำตามรอบเวร เพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างทั่วถึง ลดผลกระทบต่อผลผลิตที่อาจจะได้รับความเสียหายได้ สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก ขอให้ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อน จนกว่าจะมีฝนตกชุกในพื้นที่สม่ำเสมอและมีน้ำเพียงพอ
อนึ่ง กรมชลประทานจะมุ่งมั่นบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอใช้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นในอนาคต โดยการเก็บกักน้ำไว้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากน้ำท่า
ตามธรรมชาติให้มากที่สุด จึงขอให้เกษตรกรติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำได้จากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ รวมถึงติดตาม
สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเพาะปลูกพืชและลดผลกระทบ
ที่จะเกิดขึ้น
ที่มา : prachachat.net, สำนักข่าวอินโฟเควสท์
อินเดีย : อินเดียเดินหน้าส่งออกข้าว Non-Basmati หลังฟิลิปปินส์ลดภาษีนำเข้า
สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย (Rice Exporters Association) มั่นใจว่าปีนี้จะส่งออกข้าวได้มากขึ้น
ครองอันดับหนึ่งในตลาดโลก โดยข้อมูลจากหน่วยงานด้านการพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของอินเดีย (Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority: APEDA) ระบุว่าในปี 2563
อินเดียส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติได้ 13.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 160 ในขณะที่ส่งออกข้าวบาสมาติได้ในปริมาณ 4.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4 โดยปัจจัยหนึ่งสำหรับการส่งออกในปีนี้คือการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์
ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยกเลิกนโยบายการจำกัดการนำเข้าข้าวเชิงปริมาณและอนุญาตให้ผู้นำเข้าเอกชนสามารถนำเข้าข้าวได้อย่างเสรี รวมทั้งมีการลดภาษีนำเข้าข้าวด้วย
โดยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการคลังของฟิลิปปินส์ได้ประกาศลดอากรขาเข้าทั่วไป (MFN) จากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 35 สำหรับการนำเข้าข้าวตามโควตา และเก็บอากรขาเข้าร้อยละ 50 สำหรับการนำเข้า
นอกโควตา ภายในกรอบเวลาหนึ่งปีจากนี้ เนื่องจากฟิลิปปินส์คาดว่าจะต้องเผชิญกับพายุหลายลูกในช่วงฤดูฝน ทำให้
ผลผลิตข้าวจะมีปริมาณน้อยลง จึงต้องรักษาระดับราคาข้าวในประเทศไม่ให้สูงเกิดไป ซึ่งโดยปกติแล้วฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวปีละประมาณ 2.5 ล้านตัน โดย 2 ล้านตันเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง และอีกประมาณ 5 แสนตัน เป็นข้าวคุณภาพรอง
โดยแหล่งนำเข้าข้าวคุณภาพหลักคือ เวียดนามและไทย แต่ในปีนี้ฟิลิปปินส์ต้องการกระจายการนำเข้าที่นอกเหนือไปจากเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วย
ทั้งนี้ ราคาข้าวขาว 5% ที่ส่งออกจากอินเดียมีราคาเพียง 388-392 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวจากเวียดนามยังทรงตัวอยู่ที่ 490-495 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ส่วนราคาข้าวของไทยอยู่ที่ 457-487 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าผลผลิตข้าวจากไทยและเวียดนามจะลดลง รวมถึงข้าวจากบังกลาเทศและเมียนมาด้วย ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ในทางกลับกัน อินเดียคาดว่าจะมีผลผลิตข้าวส่วนเกินและส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวลดลง สำหรับราคาข้าวนึ่ง 5% ของอินเดีย อยู่ที่
402-408 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับราคาของเวียดนาม ซึ่งอยู่ที่ 510-515 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ข้าวนึ่งจากไทยมีราคาสูงถึง 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย ยังมีข้อกังวลว่าอินเดียจะไม่สามารถส่งออกข้าวได้เต็มศักยภาพจากการที่อินเดียขาดเรือขนส่งระหว่างประเทศสำหรับสินค้าแบบเทกอง ในขณะที่การขนส่งข้าวผ่านทางท่าเรือน้ำลึกกากีนาดา (Kakinada) ในรัฐอาธรประเทศทางฝั่งตะวันออกของอินเดียยังคงทำได้ช้า เนื่องจากภาวะคับคั่ง ทำให้เรือต้องจอดรอคิวนานกว่าปกติและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และหากผู้ส่งออกจะหันไปส่งออกโดยบรรจุข้าวในตู้คอนเทนเนอร์ก็จะทำให้มีต้นทุนและราคาสูงขึ้นอีก ข้อจำกัดนี้จึงอาจส่งผลต่อปริมาณการส่งออกและระดับราคาที่จะแข่งขันกับเวียดนามและไทยได้
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น
1. รายงานกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ระบุว่า ผลผลิตข้าวอินเดียปีนี้น่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 117.9 ล้านตันข้าวสาร เป็น 118 ล้านตันข้าวสา เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศ ส่วนความต้องการบริโภคภายในประเทศมีปริมาณ 103 ล้านตันข้าวสาร อินเดียจึงจะมีผลผลิตส่วนเกินอยู่ประมาณ 15 ล้านตัน ส่วนปริมาณข้าว
ในสต็อกของอินเดียคาดว่าจะมีประมาณ 50 ล้านตันข้าวสาร ในขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียอาจมีการสนับสนุน
การเพาะปลูกข้าวผ่านมาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวและเครื่องเกี่ยวนวดข้าว รวมถึงการจัดจำหน่ายข้าวด้วย โดยคาดว่ารัฐบาลอินเดียจะออกมาตรการส่งเสริมการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายส่วนแบ่ง
ในตลาด โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ที่กำลังเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในตลาดโลก รวมทั้งรักษาแรงจูงใจในการปลูกข้าว
ที่ไม่ใช่บาสมาติของเกษตรกร นอกจากนี้ อินเดียยังออกมาตรการที่น่าจับตสมองคือ การจัดจำหน่ายข้าวราคาถูกให้กับผู้บริโภคเพื่อบรรเทาภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพในภาวะโรคระบาด ซึ่งข้าวที่ขายให้กับประชาชนในราคาถูกนั้น บางส่วนอาจมีโอกาสนำกลับมาหมุนเวียนขายให้กับผู้ส่งออกได้
2. ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนและราคาข้าวจากไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง รวมถึงปัจจัยด้านเงินบาทที่แข็งค่า
ทำให้ปี 2563 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามมากถึง 1.3 ล้านตัน และนำเข้าจากไทยเพียง 70,000 ตัน เช่นเดียวกับมาเลเซียที่หันไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามและอินเดียมากขึ้นจากการที่มีราคาถูกว่า ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยลดลง และแม้ว่าไทยจะมีการตัดลดราคาลงเพื่อรักษาลูกค้าที่มีอยู่เอาไว้ ก็อาจไม่คุ้มค่าเพราะอินเดียมีการพัฒนาคุณภาพข้าวขาวให้มีความนุ่มและหอมใกล้เคียงกับไทยมากขึ้นเป็นลำดับ และมีราคาต่ำกว่าไทยมากถึงประมาณ 90-120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
3. ในระยะยาว ไทยก็กำลังพัฒนาข้าวขาวพื้นนิ่มพันธุ์ กข79 และ กข87 ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกสู่ตลาดโลกได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ซึ่งในระยะนี้ ไทยอาจต้องมุ่งเน้นตลาดในระดับบนที่ใส่ใจในสุขภาพ เพื่อส่งเสริมการส่งออกข้าวที่มีคุณค่าสูง อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และข้าวอินทรีย์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าวเหล่านี้ อาทิ น้ำนมข้าว
เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำมันรำข้าว แป้งทำขนม และขนมปังกรอบ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ผลิตไทยด้วย ในขณะที่ตลาดโลก
มีความต้องการสินค้าเหล่านี้ อาทิ ญี่ปุ่น มาเลเซีย รวมถึงตลาดอินเดียเอง ทั้งนี้ สคต. ได้รับข้อมูลจากผู้ผลิตอาหารในอินเดียว่ามีความสนใจที่จะร่วมลงทุนกับผู้ผลิตในประเทศไทย เพื่อนำข้าวหอมมะลิมาแปรรูปเป็นข้าวเม่า หรือ Rice Flake เพื่อเป็นอาหารเช้าในแบบของอินเดีย (Poha) ซึ่งกระบวนการผลิตจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ข้าวที่ยังมีเปลือก นอกจากนี้
ในระยะยาวไทยอาจให้ความสำคัญกับตลาดในกลุ่ม Millennials (อายุประมาณ 25-40 ปี เพื่อให้รู้จักกับทางเลือกที่หลากหลายของข้าวชนิดต่างๆ โดยมีกิจกรรม อาทิ การประกวดเมนูอาหารจากข้าวไทย และกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน
สอนทำอาหาร เป็นต้น
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.25 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.08 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 318.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,826.07 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 311.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,636.77 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.09 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 189.30 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 687.00 เซนต์ (8,469.41 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 677.00 เซนต์ (8,366.62 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 102.79 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.577 ล้านตัน (ร้อยละ 1.87 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง โดยผลผลิตมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากมีฝนตก ทั้งนี้ หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.88 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.87 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.53
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.76 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.69
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.09 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.27
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.95 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,034 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,062 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,616 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,976 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.07
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.960 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.353 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.989 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.358 ล้านตัน ของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 1.46 และร้อยละ 1.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.19 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.26 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.88 บาท ลดลงจาก กก.ละ 36.19 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.62
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การส่งออกและผลผลิตน้ำมันปาล์มของมาเลเซียน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ปริมาณการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 1.265 ล้านตัน ลดลงจากเดือน พ.ค. ร้อยละ 6 ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าอยู่ที่ 1.345 ล้านตัน แรงซื้อจากตลาดเอเชียอยู่ในช่วงชะลอตัว เนื่องจากตลาดคาดว่าประเทศอินโดนีเซียจะลดภาษีส่งออก แต่ปัจจุบันอินโดนีเซียก็ยังไม่มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ สต็อกคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่อาจลดลงในเดือน มิ.ย. เนื่องจากปริมาณการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 121.10 โดยเฉพาะในช่วงล็อกดาวน์
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,142.27 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.77 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,091.54 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.24
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,157.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.25 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,166.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.83
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,551.0 เซนต์ (17.85 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,560.90 เซนต์ (18.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.63
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 385.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 395.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.39 เซนต์ (48.61 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 66.02 เซนต์ (45.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.62
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,551.0 เซนต์ (17.85 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,560.90 เซนต์ (18.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.63
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 385.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 395.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.39 เซนต์ (48.61 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 66.02 เซนต์ (45.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.62
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.50 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.82
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.56
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,003.20 ดอลลาร์สหรัฐ (31.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ1,002.50 ดอลลาร์สหรัฐ (31.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 905.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 920.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.50 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,166.20 ดอลลาร์สหรัฐ (36.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,165.00 ดอลลาร์สหรัฐ (36.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 743.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 742.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,127.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,191.25 ดอลลาร์สหรัฐ (36.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.38 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.93 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.51 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 86.10 เซนต์(กิโลกรัมละ 59.47 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 84.51 เซนต์ (กิโลกรัมละ 58.48 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.88 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.99 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,750 บาท ลดลงจาก 1,812 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,750 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,531 บาท ลดลงจาก 1,577 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.91 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,531 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,039 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.00 คิดเป็นร้อยละ 1.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 71.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.39 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.48 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.15 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,500 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,400 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.30 บาท สูงขึ้นจากิโลกรัมละ 74.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.54 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 292 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 291 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 336 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 313 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 333 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 305 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.69 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 88.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.93 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.00 คิดเป็นร้อยละ 1.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 71.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.39 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.48 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.15 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,500 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,400 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.30 บาท สูงขึ้นจากิโลกรัมละ 74.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.54 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 292 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 291 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 335 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 336 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 313 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 333 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 305 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.69 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 88.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.93 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 - 13 มิถุนายน 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.03 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 139.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 74.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 220.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 - 13 มิถุนายน 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.03 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 139.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 74.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 220.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา